เมนู

เทวตาวรรคที่ 4


อรรถกถาปฐมสขาสูตรที่ 5


วรรคที่ 4 สูตรที่ 5

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ทุทฺททํ สิงของมีค่ามาก อันสละได้ยาก. บทว่า ทุกฺกรํ
กโรติ ความว่า ย่อมกระทำกิจกรรมที่กระทำไม่ได้ง่าย ๆ
บทว่า ทุกฺขมํ ขมติ ความว่า ย่อมอดกลั้นได้อย่างมาก เพื่อ
ประโยชน์แก่สหาย. บทว่า คุยฺหมสฺส อาวิกโรติ ความว่า ย่อมเปิด
เผยความลับของตนแก่สหายนั้น. บทว่า คุยฺหมสฺส ปริคูหติ ความว่า
ไม่บอกความลับของสหายนั้นแก่คนเหล่าอื่น. บทว่า ขีเณน นาติมญฺญติ
ได้แก่ เมื่อโภคสมบัติของสหายนั้นสิ้นไปแล้ว ก็ไม่ดูหมิ่นสหายนั้น
เพราะความเสื่อมสิ้นนั้น คือไม่กระทำการเหยียบย่ำและดูหมิ่น
ในตัวสหายนั้น
จบ อรรถกถาปฐมสขาสูตรที่ 5

6. ทุติยสขาสูตร


[34] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 7
ประการควรเสพ ควรคบเป็นมิตร ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้ถูกขับไล่
ธรรม 7 ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุเป็นที่รักใคร่พอใจ 1 เป็นที่
เคารพ 1 เป็นผู้ควรสรรเสริญ 1 เป็นผู้ฉลาดพูด 1 เป็นผู้อดทน
ต่อถ้อยคำ 1 พูดถ้อยคำลึกซึ้ง 1 ไม่ชักนำในทางที่ไม่ดี 1 ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 7 ประการนี้แล ควรเสพ
ควรคบเป็นมิตร ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้ถูกขับไล่.
ภิกษุเป็นที่รักใคร่ พอใจ เป็นที่เคารพ
ควรสรรเสริญ ฉลาดพูด อดทนต่อถ้อยคำ พูด
ถ้อยคำลึกซึ้ง ไม่ชักนำในทางที่ไม่ดี ฐานะเหล่านี้
มีอยู่ในภิกษุใด ภิกษุนั้นเป็นมิตรแท้ มุ่งอนุเคราะห์
แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ผู้ประสงค์จะคบมิตร ควร
คบมิตรเช่นนั้น แม้จะถูกขับไล่.

จบ สขาสูตรที่ 6